(สำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่มที่มีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยนอกสำหรับการรักษาผ่านทางโทรเวชกรรม)
  • สามารถคลิก เพื่อเข้าใช้งานได้เลย
  • สามารถเข้าผ่าน Line Official ของโรงพยาบาลสมิติเวช โดยเพิ่มเป็นเพื่อน @samitivej และเลือกที่แถบ “VDO Call ปรึกษาแพทย์ออนไอน์” เพื่อไปเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่น Samitivej Virtual Hospital 
  • เตรียมบัตรประชาชนเพื่อให้โรงพยาบาลตรวจสอบสิทธิ์
  • สามารถเลือกรับยาจากโรงพยาบาลสมิติเวช โดยยาจะจัดส่งมาที่บ้าน หรือที่ทำงาน หรือจะซื้อยาที่ร้านขายยาชั้นนำด้วยตนเองก็ได้  โดยนำใบเสร็จรับเงิน จากร้านขายยาคุณภาพ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคล ส่งมาเบิกที่ฝ่ายสินไหม  เอกสารในการมาเบิกค่ายา มาจาก 2 ส่วน ดังนี้

เอกสารจากโรงพยาบาล

  1. Summary report (ใบสรุปคำแนะนำทางการแพทย์)
  2. Receipt (ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง)
  3. Invoice (สำเนาใบแจ้งหนี้)
  4. Verify document (เอกสารยืนยันตัวตนผู้ใช้บริการ)

เอกสารจากร้านขายยา

  1. Receipt (ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง)

*โรค หรืออาการ ที่สามารถใช้บริการ Virtual service เป็นกลุ่มโรคที่ไม่มีความซับซ้อน เช่น

  • หวัด  (คออักเสบเฉียบพลัน  , หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ,ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน)
  • ไอ
  • ไซนัสอักเสบ
  • ภูมิแพ้
  • ผื่นแพ้ / ผื่นแพ้ / ลมพิษ
  • ปวดศรีษะ  / ไมเกรน /มึน เวียนศรีษะ
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อ
  • ปวดคอ  / ปวดหลัง / ปวดกล้ามเนื้อ
  • ตาแดง / ตากุ้งยิง
  • ปวดท้อง  ท้องเสีย อาเจียน โรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • ปวดท้องประจำเดือน
  1. กรอกข้อมูล  ชื่อ-สกุล , วันเดือนปีเกิด , เลขบัตรประชาชน , เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ,อีเมล์
  2. คลิกทำเครื่องหมายในช่อง “ฉันยอมรับ เงื่อนไขข้อตกลงในการใช้บริการ และนโยบายความเป็นส่วนตัว” สำหรับช่อง “ฉันตกลงที่จะรับข่าวสารสุขภาพจากโรงพยาบาลสมิติเวช” จะเลือกทำเครื่องหมายหรือไม่ก็ได้
  3. จากนั้นคลิก “เริ่มสนทนา”

พยาบาลของ Samitivej Virtual Hospital ยืนยันตัวตนพนักงานโดย

  • ให้โชว์บัตรประชาชน หรือ ถ่ายภาพคู่กับบัตรประชาชน เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ประกัน
  • ซักถามอาการเจ็บป่วยก่อนเข้ารับบริการ
  • รับการปรึกษากับแพทย์ออนไลน์
  • แพทย์จะสรุปแผนการรักษา และจัดส่งใบสรุปคำแนะนำให้ทางอีเมล์และโทรศัพท์มือถือ

1. ใช้บริการโดยผ่านช่องทางและการลงทะเบียนเข้าใช้บริการข้างต้น

  • log in เข้าสู่ Samitivej Virtual Hospital จากโทรศัพท์มือถือ
  • คีย์ User name , Password ของบัญชีผู้ใช้งาน  เพื่อเข้าสู่ระบบการใช้บริการ พร้อมอัพโหลดบัตรประชาชน เพื่อให้โรงพยาบาลตรวจสอบสิทธิ์ OPD Cashless service ผ่าน Web
  • ยืนยันตัวตนโดย Capture ใบหน้าตัวเอง พร้อมแสดงบัตรประชาชน
  • โรงพยาบาลยืนยันการตรวจสอบและการใช้สิทธิ์
  • แพทย์ให้คำแนะนำและปรึกษาทางโทรศัพท์ (VDO Call) แก่พนักงาน (15 นาที ค่าแพทย์ 500 บาท)
  • เมื่อรับคำปรึกษาจากแพทย์เสร็จแล้ว โรงพยาบาลจะส่ง “ใบสรุปคำแนะนำทางการแพทย์”(Summary Report) ผ่านทางโทรศัพท์มือถือและอีเมล์ของพนักงานภายใน 10 นาที
  • สามารถรับยาจากโรงพยาบาลสมิติเวช โดยยาจะจัดส่งมาที่บ้าน หรือที่ทำงาน หรือจะซื้อยาที่ร้านขายยาด้วยตนเองก็ได้ (นำใบเสร็จรับเงิน จากร้านขายยาคุณภาพ ที่ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคล ส่งมาเบิกที่ฝ่ายสินไหม)
เจ้าหน้าที่ Samitivej Virtual Hospital จะติดต่อกลับผู้เอาประกันเพื่อดำเนินการต่อ
ติดต่อ ศูนย์ดูแลลูกค้าอลิอันซ์ อยุธยา โทร. 1373 ตลอด 24 ชั่วโมง
  • แจ้งพยาบาลว่าต้องการพบแพทย์ตอนนี้ หรือต้องการนัดหมาย
  • ถ้าต้องการทำนัด  ให้แจ้งวัน-เวลาที่ต้องการทำนัดแก่พยาบาล
  • ก่อนเวลานัดหมายทาง Samitivej Virtual Hospital  จะส่ง SMS แจ้งเตือนนัดหมาย โดยแพทย์จะติดต่อกลับเมื่อถึงเวลานัดหมาย
  • สามารถติดต่อได้ที่ สมิติเวช 02-022-2222 ตลอด 24 ชม. หรือ หากระหว่างสนทนากับพยาบาลหรือแพทย์ผ่าน Virtual Hospital แล้วพนักงานมีปัญหาเรื่องสัญญาณ Internet จะมีการโทรกลับตรงทางหน้างานเบอร์ Base Line Virtual Hospital 02-378-9124
เจ้าหน้าที่ Samitivej Virtual Hospital 02-378-9124 จะติดต่อกลับและแนะนำให้ลูกค้าติดต่อเข้ามาใหม่โดยเป็นการคิดค่าบริการแบบต่อเนื่อง ไม่คิดค่าบริการใหม่  โดยจะนับเวลาต่อเนื่องจากการสนทนากับแพทย์ก่อนสัญญาณขาดหาย

ค่าบริการเริ่มต้นที่ 500 บาท ต่อ  15 นาที 

หากอาการของลูกค้าจำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทาง ค่าแพทย์สูงสุดไม่เกิน 1,200 บาทต่อ  15 นาที

การนัดหมายแพทย์เฉพาะทาง จะเป็นการนัดหมายครั้งใหม่เสมอ  ดังนั้นจะขึ้นกับความคุ้มครองสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพกลุ่มของลูกค้าแต่ละราย

  1. Summary Report : แสดงรายละเอียด ดังนี้ ข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลแพทย์ อาการนำ การวินิจฉัยเบื้องต้น คำแนะนำของแพทย์ รวมถึงรายละเอียดของยาที่ได้รับ (กรณีมียา)
  2. ใบเสร็จรับเงินตัวจริง (กรณีลูกค้าชำระเอง) หรือ สำเนาใบแจ้งหนี้ (กรณีใช้สิทธิ์ประกันหรือบริษัทคู่สัญญา)
ทางโรงพยาบาลจะส่ง SMS แจ้งลูกค้าพร้อมแนบ Payment Link (เว็บไซต์ในการชำระค่าบริการ) และเมื่อชำระเสร็จสิ้นจะได้รับใบเสร็จรับเงินตัวจริงโดยมีตราประทับจากโรงพยาบาลทางอีเมล์ และไปรษณีย์
พยาบาลให้บริการ 4 คู่สายบริการ
  • Same Day Delivery ให้บริการผ่าน GRAB  ในพื้นที่กรุงเทพ นนทบุรี และสมุทรปราการ บางพื้นที่ ตลอด 24 ชม.
  • Next Day Delivery พื้นที่ประเทศไทย ให้บริการตามความสามารถของ Thai Post และ SCG Express
หมายเหตุ พื้นที่สีแดง (ยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส)  อาจจะใช้เวลามากกว่า 2 วัน
*กรณีมีคำสั่งพิเศษที่มีผลทางกฏหมาย หรือ พรก ฉุกเฉิน อาจจะไม่สามารถจัดส่งได้ตลอด 24 ชม.
* ฟรีค่าจัดส่งยา 200 บาทแรก ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
* ค่าจัดส่งยาไม่สามารถนำไปเรียกร้องผลประโยชน์ความคุ้มคอรงตามกรมธรรม์ได้
เมื่อลูกค้าได้รับยา จะมีการติดต่อจากเภสัชกรภายใน 1 ชั่วโมง หรือลูกค้าสามารถติดต่อกลับที่เบอร์ 02-022-2222 ตลอด 24 ชั่วโมง

สามารถขอทราบรายการยาที่ต้องการไปซื้อเองได้ โดยแพทย์จะระบุเป็นลักษณะชื่อยาทั่วไปแบบ Generic Name อยู่ใน Summary Report

สามารถเลือกตัวยาไทยหรือตัวยาต่างประเทศได้ ตามที่ตกลงกับแพทย์ระหว่างการรักษาและใบสรุปคำแนะนำการรักษา

ใบเสร็จจากร้านขายยา ระบุชื่อ นามสกุล ของลูกค้า และวัน เวลาที่ออกใบเสร็จ โดยร้านยาต้องออกใบเสร็จเป็นใบกำกับภาษี ควรเป็นร้านขายยาคุณภาพ ที่มีระบบคุณภาพตรวจสอบได้ เช่น chain ร้านขายยา facino, safe drug, ร้านขายยากรุงเทพ, P&F, Boots, Watson เป็นต้น

** หากลูกค้าไม่สามารถซื้อยาภายในวันเดียวกับวันที่ใช้บริการ Telemedicine ลูกค้าจะต้องระบุเหตุผล ความจำเป็นให้ชัดเจนมาพร้อมกับเอกสารยื่นเบิกสินไหม

แพทย์วินิจฉัยตามอาการจากการสนทนาและซักประวัติ โดยไม่จ่ายยาเกิน7วัน หากไม่ใช่กรณีการรักษาต่อเนื่อง โดยระหว่าง 7 วันนี้ จะมีพยาบาลโทรติดตามอาการป่วย หากอาการไม่ดีขึ้นจะแนะนำให้มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล

ติดต่อที่เบอร์ 02-022-2222 ตลอด 24 ชั่วโมง โดยจะมีการส่งยาชุดใหม่ไปให้ลูกค้าภายในเขตกรุงเทพ ไม่เกิน 90 นาที โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ส่วนขั้นตอนการรับยากลับเป็นของทางโรงพยาบาลและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆกับลูกค้า

*กรณีมีคำสั่งพิเศษที่มีผลทางกฏหมาย หรือ พรก ฉุกเฉิน อาจจะไม่สามารถจัดส่งได้ตลอด 24 ชม.

ติดต่อที่เบอร์ 02-022-2222 ตลอด 24 ชั่วโมง โดยขั้นตอนต่างๆจะเป็นไปตามหลักการดำเนินการที่ทางโรงพยาบาลกำหนดและรองรับ
  • ยาที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท/ยาที่มีความเสี่ยงสูง : กลุ่มยา Sedative drug, Narcotic drug เป็นต้น
  • ยาที่แพทย์จำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยจากทางร่างกายโดยตรงก่อน (Physical Examination) จึงจะสั่งยาได้
  • ยาที่รักษาสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น กลุ่มยาโรคหัวใจ เบาหวาน จิตเวช เป็นต้น ยกเว้นกรณี Follow up
  • ความเจ็บป่วยที่ต้องการดูแลรักษาอย่างฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ
  • ความเจ็บป่วยที่ไม่ใช่ Non-minor conditions หรือ Serious healthcare issues
  • ความเจ็บป่วยที่มีลักษณะเรื้อรังซึ่งยังไม่เคยได้รับการตรวจวินิจฉัยร่างกายจากแพทย์มาก่อน
  • ความเจ็บป่วยอื่นใดที่จำเป็นต้องตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

ตัวอย่าง  Simple disease: โรคหวัด โรคคออักเสบ โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคท้องร่วง โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ภูมิแพ้ ผื่นแพ้ ปวดศีรษะ ปวดท้องประจำเดือน เวียนศีรษะ เป็นต้น